เมนู

ทานนี้แล จงมีแก่ญาติทั้งหลาย กรรมที่คนหนึ่งทำแล้วย่อมไม่ให้ผลแก่อีกคน
หนึ่ง แต่วัตถุนั้นที่ญาติให้อุทิศอย่างนั้นอย่างเดียว ย่อมเป็นปัจจัยแก่กุศล
กรรมของญาติทั้งหลาย ฉะนั้นเมื่อทรงแสดงประการที่กุศลกรรม อันให้เกิดผล
ในทันที่ เพราะวัตถุนั้นนั่นแลอีก จึงตรัสกึ่งหลังแห่งคาถาที่ 4 ว่า เต จ
ตตฺถ
และกิ่งต้นแห่งคาถาที่ 5 ว่า ปหูเต อนฺนปานมฺหิ.
กึ่งต้นและกึ่งหลังแห่งคาถาเหล่านั้น มีความว่า ท่านอธิบายไว้ว่าเปรต
ที่เป็นญาติเหล่านั้น มาโดยรอบ มาร่วมกัน ประชุมอยู่ในที่แห่งเดียวกัน ในที่ ๆ
ญาติให้ทานนั้น. ท่านอธิบายไว้ว่า เปรตเหล่านั้นมาโดยชอบ มาร่วมกัน
มาพร้อมกันเพื่อความต้องการอย่างนี้ว่า ญาติทั้งหลายของเราจักอุทิศทานนี้
เพื่อประโยชน์แก่เราทั้งหลาย. บทว่า ปหูเต อนฺนปานมฺหิ ความว่า ใน
ข้าวน้ำที่ญาติให้อุทิศเพื่อตนมีมากนั้น. บทว่า สกฺกจฺจํ อนุโมทเร ความว่า
เปรตเหล่านั้นเชื่อมั่น ผลกรรมไม่ละความยำเกรง มีจิตไม่กวัดแกว่ง ย่อมยินดี
อนุโมทนา เกิดปีติปราโมชว่า ทานนี้จงมีผลเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อสุข
แก่เราทั้งหลาย.

พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ 5


สัมพันธ์กับตอนต้นของคาถาที่ 6


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงแสดงประการที่กุศลกรรม ให้ผลเกิดใน
ทันที่ แก่ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัย อย่างนี้จึงตรัสว่า
พวกเปรตที่เป็นญาติเหล่านั้นพากันมาในที่นั้น
ประชุมพร้อมแล้ว ต่างก็อนุโมทนาโดยเคารพในข้าว
น้ำเป็นอันมาก.

เมื่อทรงแสดงอาการชมเชยปรารภญาติทั้งหลายของเปรตเหล่านั้น ที่เสวยผล
แห่งกุศลกรรม อันบังเกิดเพราะอาศัยพวกญาติอีก จึงตรัสกึ่งหลังแห่งคาถา
ที่ 5 ว่า จิรํ ชีวนฺตุ และกึ่งต้นแห่งคาถาที่ 6 ว่า อมฺหากญฺจ กตา
ปูตา.

กึ่งหลังและกึ่งต้นแห่งคาถาเหล่านั้นมีความว่า บทว่า จิรํ ชีวนฺตุ
ได้แก่มีชีวิตอยู่นาน ๆ มีอายุยืน. บทว่า โน ญาตี แปลว่า ญาติทั้งหลาย
ของพวกเรา. บทว่า เยสํ เหตุ ได้แก่ เพราะอาศัยญาติเหล่าใด เพราะ
เหตุแห่งญาติเหล่าใด. บทว่า ลภามฺหเส แปลว่า ได้. หมู่เปรตกล่าวอ้าง
สมบัติที่ตนได้ในขณะนั้น.
จริงอยู่ ทักษิณา ย่อมสำเร็จผล คือ ให้เกิดผลในขณะนั้นได้ ก็
ด้วยองค์ 3 คือ ด้วยการอนุโมทนาด้วยตนเองของเปรตทั้งหลาย 1 ด้วย
การอุทิศของทายกทั้งหลาย 1 ด้วยการถึงพร้อมแห่งทักขิไณยบุคคล 1.

บรรดาองค์ทั้ง 3 นั้น ทายกทั้งหลายเป็นเหตุพิเศษ ด้วยเหตุนั้น
เปรต. ทั้งหลายจึงกล่าวว่า เยสํ เหตุ ลภามฺหเส ย่อมได้เพราะเหตุแห่งญาติ
[ที่เป็นทายก] เหล่าใด. บทว่า อมฺหากญฺจ กตา ปูชา ความว่า และ
ญาติทั้งหลายที่อุทิศทานนี้อย่างนี้ว่า อทานนี้จงมีแก่ญาติทั้งหลายของเรา ดังนี้
ชื่อว่า ทำการบูชาพวกเราแล้ว. ทายกา จ อนิปฺผลา ความว่า กรรมที่
สำเร็จมาแต่การบริจาค อันทายกทำแล้วในสันดานใด ทายกทั้งหลาย ชื่อว่า
ไม่ไร้ผล ก็เพราะกรรมนั้น ให้ผลในสันดานนั้นเท่านั้น. ในข้อนี้ผู้ทักท้วงกล่าว
ว่า ญาติทั้งหลายที่เข้าถึงปิตติวิสัยได้เท่านั้นหรือ หรือว่า แม้คนอื่น ๆ ก็ได้.
ขอชี้แจงดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ถูกพราหมณ์ ชื่อ ชาณุสโสณิ ทูลถาม
แล้ว ก็ทรงพยากรณ์ข้อนี้ไว้ดังนี้ว่า ในข้อนี้ เราจะพึงกล่าวคำอะไร. สมจริง
ดังที่พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้1ดังนี้ว่า

1. อัง.ทสก. 24/ข้อ 166 ชาณุสโสณีสูตร.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกข้าพเจ้าชื่อว่าพราหมณ์
ย่อมไห้ทาน ย่อมทำความเชื่อว่า ทานนี้จะสำเร็จผลแก่
เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติสาโลหิต เปรตทั้งหลายที่เป็น
ญาติสาโลหิต จะบริโภคทานนี้. ข้าแต่ท่านพระโคดม
ทานนั้น จะสำเร็จผลแก่เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติสา-
โลหิตบ้างไหม เปรตทั้งหลายที่เป็นญาติสาโลหิต จะ
บริโภคทานนั้น ได้บ้างไหม.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์จะสำเร็จผลในที่เป็นฐานะ ไม่
สำเร็จผลในที่เป็นอัฏฐานะ.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ที่อย่างไรเป็นฐานะ ที่
อย่างไรเป็นอัฏฐานะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ คนบางตนในโลกนี้ทำปาณา-
ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตกไป เขาย่อมเข้าถึงนรก อาหารอันใดของ
เหล่าสัตว์นรก เขาย่อมยังชีพให้เป็นไปในนรกนั้น ด้วย
อาหารอันนั้น เขาดำรงอยู่ได้ในนรกนั้น ด้วยอาหาร
อันนั้น.
ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้นย่อมไม่สำเร็จผลแก่
สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในนรกใด นรกนั้นแล ชื่อว่า อัฏฐานะ.

ดูก่อนพราหมณ์ คนบางตนในโลกนี้ทำปาณา-
ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตกไป เขาเข้าถึงกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน. อาหาร
อันใดของเหล่าสัตว์ที่เกิดในกำเนิดสัตว์ เดียรัจฉาน เขา
ย่อมยังชีพให้เป็นไปในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานนั้นด้วย
อาหารอันนั้น ย่อมดำรงอยู่ได้ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน
นั้น ด้วยอาหารอันนั้น.
ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมไม่สำเร็จผลแก่
สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานใด กำเนิดสัตว์
เดียรัจฉานนั้นแล ชื่อว่า อัฏฐานะ.
ดูก่อนพราหมณ์ คนบางคนในโลกนี้ เว้นขาด
จากปาณาติบาต ฯลฯ เป็นสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่
ตายเพราะกายแตกไป เขาย่อมเข้าถึงความเป็นสหาย
ของหมู่เทวดา อาหารอัน ใดของหมู่เทวดา เขายังชีพ
ให้เป็นไปในเทวโลกนั้นด้วยอาหารอันนั้น เขาดำรง
อยู่ได้ในเทวโลกนั้นด้วยอาหารอันนั้น.
ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมไม่สำเร็จผลแก่
สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในเทวโลกใด เทวโลกนี้แล ก็ชื่อว่าอัฏฐานะ
ดูก่อนพราหมณ์ คนบางคนในโลกนี้ ทำปาณา
ติบาต ฯลฯ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะ
กายแตกไป เขาย่อมเข้าถึงปิตติวิสัย อาหารอันใดของ
หมู่สัตว์ที่เข้าถึงปิตติวิสัย เขาย่อมยังชีพให้เป็นไปใน

ปิตติวิสัยนั้นด้วยอาหารอันนั้น เขาดำรงอยู่ได้ในปิตติ-
วิสัยนั้น ด้วยอาหารอันนั้น ก็หรือว่า หมู่มิตรสหายหรือ
หมู่ญาติสาโลหิต มอบทานอันใดจากมนุษยโลกนี้ไป
ให้แก่เขา เขาย่อมยังชีพให้เป็นไปในปิตติวิสัยนั้นด้วย
ทานอันนั้น เขาดำรงอยู่ได้ในปิตติวิสัยนั้น ด้วยทาน
อันนั้น ดูก่อนพราหมณ์ ทานนั้น ย่อมสำเร็จผลแก่
สัตว์ผู้ตั้งอยู่ในปิตติวิสัยใด ปิตติวิสัยนี้แต่ชื่อว่า ฐานะ.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ถ้าหากว่าเปรตผู้เป็นญาติ-
สาโลหิตนั้น ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่าบริโภคทาน
นั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ หมู่เปรตที่เป็นญาติสาโลหิตแม่
เหล่าอื่นของเขา ที่เข้าถึงฐานะนั้น บริโภคทานนั้นนะสิ.

ชาณุสโสณิพราหมณ์ทูลถามว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ทั้งเปรตที่เป็นญาติสาโลหิต
ผู้นั้น ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ทั้งหมู่เปรตที่เป็นญาติสา-
โลหิตแม้เหล่าอื่นของเขา ก็ไม่เข้าถึงฐานะนั้น ใครเล่า
จะบริโภคทานนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ดูก่อนพราหมณ์ ฐานะที่จะพึงว่างจากญาติสา-
โลหิตผู้ล่วงลับไปแล้วโดยกาลช้านานเช่นนี้ มิใช่ฐานะ

มิใช่โอกาสที่จะมีได้ ก็แต่ว่า แม้ทายกผู้ให้ย่อมไม่ไร้
ผลนะพราหมณ์.


พรรณนาตอนปลายของคาถาที่ 6


สัมพันธ์กับคาถาที่ 7


พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อทรงชมพระราชาเพราะอาศัยสมบัติของหมู่
พระประยูรญาติในชาติก่อนของพระเจ้ามคธรัฐ ที่เข้าถึงปิตติวิสัย จึงทรงแสดง
ว่า ขอถวายพระพร พระประยูรญาติของมหาบพิตรเหล่านี้ดีใจ พากันชมเชย
ในทานสัมปทาน จึงตรัสว่า
หมู่เปรตพากันชมว่า พวกเราได้สมบัติ เพราะ
เหตุแห่งญาติเหล่าใด ขอญาติเหล่านั้นของพวกเราจง
มีชีวิตอยู่ยั่งยืน และญาติเหล่านั้นทำการบูชาพวกเรา
แล้ว ทั้งทายกทั้งหลาย ก็ไม่ไร้ผล
ดังนี้.
เมื่อทรงแสดงความไม่มีเหตุที่ให้ได้สมบัติอย่างอื่น มีกสิกรรมและโครักขกรรม
เป็นต้น ของหมู่เปรตที่เข้าถึงปิตติวิสัยเหล่านั้น แต่ความที่หมู่เปรตเหล่านั้น.
ยังชีพให้เป็นไปด้วยทาน ที่ญาติให้จากมนุษยโลกนี้ จึงตรัสกึ่งหลังแห่งคาถาที่
6 ว่า น หิ ตตฺถ กสิ อตฺถิ และคาถาที่ 7 นี้ว่า วณิชฺชา ตาทิสี
เป็นต้น.
ในคาถานั้น พรรณนาความดังนี้ ขอถวายพระพร ก็ในปิตติวิสัยนั้น
ไม่มีกสิกรรมที่หมู่เปรตเหล่านั้นจะอาศัยแล้วได้สมบัติ. บทว่า โครกฺเขตฺถ
น วิชฺชติ
ความว่า ไม่ใช่ไม่มีกสิกกรรมอย่างเดียวเท่านั้นดอก ในปิตติวิสัย
นั้น ก็ไม่มีแม้แต่โครักขกรรม ที่หมู่เปรตเหล่านั้น จะอาศัยแล้วได้สมบัติ.
บทว่า วณิชฺชา ตาทิสี นตฺถิ ความว่า ไม่มีแม้การค้าขาย ที่จะเป็นเหตุให้